การ Reused N95 ในสถานการณ์วิกฤต COVID19 (กรณีขาดแคลนเท่านั้น)
ในปีนี้สถานการณ์ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนก็คือวิกฤต COVID 19 ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ที่สำคัญมากคือระบบสาธารณสุข และระบบเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่รู้ว่าวิกฤตนี้จะจบลงเมื่อใด ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ซึ่งมีการขาดแคลนทั่วโลก ในประเทศไทยต้องนำอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลมาจากต่างประเทศ จึงทำให้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย N95 เป็นอุปกรณ์ป้องกัน COVID 19 กรณี airborne precautions ได้มีการศึกษาและทำการทดลองจาก บริษัทผู้ผลิต เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำสิ่งที่ทุกท่านต้องตระหนัก คือการนำ N95 ที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาใช้ซ้ำจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทดสอบประสิทธิภาพการกรอง และมีคุณสมบัติในการป้องกันการติดเชื้อ หากพบว่าN95 ที่จะนำมาใช้ซ้ำมีการปนเปื้อนและไม่คงประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อชนิด airborne จะต้องไม่นำมาใช้ควรจัดหา PPE ใหม่ใช้ รู้จักนิยามศัพท์ทเี่กี่ยวกับ N95 NIOHS: (The National Institute for Occupational Safety and Health) เป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้การดูแลของ Centers for Disease ของControl and Prevention (CDC) ในสังกัด Department of Health and Human Services ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและจัดทำข้อเสนอแนะต่างๆในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน (Work-related injury and illness) N95 :ตัว N ด้านหน้า บ่งบอกถึงการใช้งานของแผ่นกรองแต่ละชนิด ซึ่งแบ่งเป็นตัวอักษร N,R และ P ดังนี้
- N ย่อมาจาก Non-resistant to Oil เป็นแผ่นกรองที่ไม่ทนต่อน้ำมันไม่เหมาะ สำหรับหน้างานที่มีน้ำมัน การ reused N95 ในสถานการณ์วิกฤต COVID19(กรณีขาดแคลนเท่านั้น)
- R ย่อมาจาก Resistant to Oil เป็นแผ่นกรองที่ทนต่อน้ำมันได้ระดับนึง สำหรับหน้างานที่มีน้ำมันได้บ้าง
- P ย่อมาจาก Oil Proof เป็นแผ่นกรองที่ทนต่อน้ำมันได้ดี สำหรับหน้างานที่มีน้ำมัน มีคุณสมบัติเป็นหน้ากากอนามัยที่มีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาด 0.1- 0.3 ไมครอน ได้ 95%
*ส่วนอักษรอื่นๆ เช่น KN ไม่ได้เป็นมาตรฐานของอเมริกา แต่เป็นมาตรฐานสำหรับหน้ากากในประเทศจีน ซึ่งอ้างอิงการทดสอบจาก NIOSH*
อ่านต่อได้ที่นี่